การประปาและวิศวกรรมสุขาภิบาล ประกอบด้วยการประเมินแหล่งน้ำดิบประเภทผิวดิน และใต้ดิน สถานีสูบและการออกแบบทางน้ำเข้า และขนาดท่อส่งน้ำ คุณสมบัติของน้ำทางกายภาพ ทางเคมี และทางชีวภาพ กระบวนการแอเรชั่น และดีแอเรชั่น องค์ประกอบของกระบวนการผลิตน้ำประปา การกวนช้า-กวนเร็ว การตกตะกอน การกรอง การฆ่าเชื้อโรคและการกำจัดความกระด้าง ระบบการแจกจ่ายน้ำประปาสู่ชุมชนและการระบายน้ำ การควบคุมมลภาวะทางน้ำและการบำบัดน้ำเสีย การจัดการขยะมูลฝอย และมลพิษทางอากาศ

       จุดมุ่งหมายของรายวิชา

1 มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการ ทฤษฎีการประปาและวิศวกรรมสุขาภิบาล สามารถอธิบาย นำไปประกอบอาชีพ และดำรงชีวิตในยุคดิจิทัล

2 สามารถปรับใช้ความรู้ทาง การประปา ระบบการจ่ายน้ำด้วยท่อ และวิศวกรรมสุขาภิบาล อาทิการประเมินแนวทางบำบัดน้ำเสียเบื้องต้น การระบายน้ำ การควบคุมมลพิษเบื้องต้น เพื่อการพัฒนางานอย่างยั่งยืนและสอดคล้องกับวิถีชีวิตใหม่

3 มีทักษะการแสวงหาความรู้ (inquiry skills) และการเรียนรู้ (learning) ด้านการประปาและวิศวกรรมสุขาภิบาล ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

4 สามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและสื่อสารอย่างเหมาะสมทั้ง การพูด การเขียน และสื่อสัญลักษณ์ต่างๆ ทางการประปาและวิศวกรรมสุขาภิบาลอย่างมีประสิทธิภาพ

5 ตระหนัก และสำนึกในความเป็นวิศวกร

6 มีบุคลิกภาพที่ดี วางตัวเหมาะสมกับสถานการณ์ สามารถเป็นแบบอย่างที่ดี และมีความคล่องแคล่ว กระตือรือร้น สู้งาน ขยันขันแข็ง ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้


การเขียนตัวอักษร การเขียนภาพฉายออโธกราฟฟิก มิติและการบันทึกภาพประกอบ การเขียนภาพและการอ่านภาพสามมิติ

การให้ขนาด (Dimension) ภาพตัด ภาพร่างด้วยมือ (Free hand sketch) วิวช่วยความยาวจริง มุมและทิศทางของเส้นขนาด

จริงของระบบระนาบ การมองเห็นรอยตัด ภาพคลี่ การเขียนแบบและการอ่านแบบใช้งาน การใช้คอมพิวเตอร์ในการเขียนแบบ

คุณสมบัติและพฤติกรรม, ที่มาหรือขบวนการผลิต, การตรวจสอบและการทดสอบวัสดุทางวิศวกรรมโยธา ได้แก่ เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต เหล็กรูปพรรณ เหล็กรีดซ้ำ และผลิตภัณฑ์เหล็กอื่น ๆ ที่ใช้ในงานวิศวกรรมโยธา ไม้ ไม้อัด ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ มวลรวม น้ำและสารผสมเพิ่ม คอนกรีตสด คอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาจากคอนกรีต วัสดุการทาง วัสดุทางด้านวิศวกรรมโยธาและก่อสร้างอื่น ๆ วัสดุประกอบที่ใช้ในงานวิศวกรรมโยธา  


การกำเนิดดิน คุณสมบัติพื้นฐานทางวิศวกรรมของดิน การจำแนกประเภทของดิน การบดอัดดิน ความสามารถในการซึมผ่านและการไหลของน้ำในดิน ความเค้นในมวลดิน กำลังรับแรงเฉือนของดิน การยุบอัดตัว กำลังรับแรงแบกทาน แรงดันของดิน และเสถียรภาพของดิน

Soil Formation, index properties and classification of soil, compaction, permeability of soil and seepage problems, principle of effective stresses within a soil mass; stress distribution, compressibility of soil, shear strength of soil, earth pressure theory, slope stability, bearing capacity.