การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า รหัสวิชา 4021204 หน่วยกิต 3

คำอธิบายรายวิชา

การวิเคราะห์วงจรอาร์ – แอล – ซี โดยใช้สมการดิฟเฟอร์เรนเชียล และการแปลงลาปลาซ ทฤษฎีคัทเซต การใช้เมตริกซ์ช่วยในการวิเคราะห์โครงข่ายไฟฟ้า การวิเคราะห์ผลตอบสนองชั่วขณะด้วยสัญญาณเข้าแบบต่าง ๆ หลักการของไฟฟ้ากระแสสลับหลายเฟส ความสัมพันธ์ระหว่างเฟสและไลน์ของกระแส แรงดัน และกำลังไฟฟ้าของการต่อแบบวายและเดลต้า การวัดกำลังไฟฟ้าสามเฟส ไฟฟ้ากระแสสลับสามเฟสสมดุล และไม่สมดุล


คณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า 1 รหัสวิชา 4020201    หน่วยกิต 3

 

วิชาบังคับก่อน แคลคูลัส 2

 

สังเขปวิชา การแก้สมการอนุพันธ์แบบทั่วไปอันดับที่ 1 ในแบบต่าง ๆ สมการของเบอร์นุลี สมการคอชี่ การแก้สมการอนุพันธ์แบบทั่วไปอันดับที่ 2 และสูงกว่าในแบบต่าง ๆ ทั้งโดยการใช้ผลลัพธ์จำเพาะและการปรับเปลี่ยนของพารามิเตอร์ อนุกรมฟูเรียร์ อินทิกรัลฟูเรียร์ การแปลงฟูเรียร์ การแปลงลาปลาส สมการผลต่าง การแปลงซี การแก้สมการอนุพันธ์แบบแยกส่วน และการแก้โดยการใช้การแยกตัวแปร การแก้ปัญหาค่าที่ขอบเขต


4024211   สัญญาณและระบบ             3(3-0-6)

  Signal and System

  รายวิชาบังคับก่อน :     ผ่านวิชา 4000103 แคลคูลัส 3 

สัญญาณและระบบที่เป็นแบบไม่ต่อเนื่องทางเวลา การแปลงแบบซี หลักการสุ่มสัญญาณและการสร้างสัญญาณคืน การเปลี่ยนอัตราการสุ่ม การวิเคราะห์ระบบเวลาไม่ต่อเนื่องที่มีคุณสมบัติเป็นเชิงเส้นและไม่แปรผันตามเวลา การแปลงฟูเรียร์แบบดิสครีต การแปลงฟูเรียร์แบบเร็ว การออกแบบวงจรกรองดิจิตอล และการประยุกต์ใช้งาน

Time-discrete signals and systems, Z-transform, sampling and signal-regeneration.   Sampling rate changing. Analysis of discrete time systems with linear and time-invariant properties. Discrete Fourier Transformation, Fast Fourier Transform, Digital Filter Circuit Design and applications.



หน่วย และมาตรฐานการวัดทางไฟฟ้า ลำดับชั้นและคุณลักษณะของมาตรฐาน การวิเคราะห์การวัด เครื่องมือวัดแบบแอนาลอกและดิจิตอลสำหรับการวัดกระแส แรงดัน ทั้งแบบกระแสตรงและกระแสสลับ เครื่องมือวัดกำลัง ค่าตัวประกอบกำลังและพลังงานไฟฟ้า การวัดค่าความต้านทาน ค่าตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้า และค่าเก็บประจุไฟฟ้า การวัดความถี่ คาบเวลา สัญญาณรบกวน ทรานสดิวเซอร์ การปรับเทียบ การทดลองเกี่ยวกับเครื่องมือวัด และการวัดทางไฟฟ้า


 ไฟฟ้าแรงสูงเบื้องต้นและการใช้งานไฟฟ้าแรงสูง ขบวนการอิออนไนเซชัน การผลิตไฟฟ้าแรงสูงทั้งแบบ

กระแสตรงและอิมพัลส์ เทคนิคการวัดไฟฟ้าแรงสูง การเสียสภาพฉับพลันทางไฟฟ้าในแก๊ส ของแข็งและของเหลว การ

ทดสอบวัสดุ อุปกรณ์ทางไฟฟ้าแรงสูง อุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่าและสวิทช์แรงดันเกิน การป้องกันฟ้าผ่า

คำอธิบายรายวิชา

ทฤษฎีพื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องจักรกลไฟฟ้า วงจรควบคุมพื้นฐาน อุปกรณ์ควบคุม (Programmable logic control : PLC) ทฤษฎีและการเขียนโปรแกรมภาษา Ladder การควบคุมเครื่องจักรพื้นฐาน และควบคุมในลักษณะ Process โดยใช้ PLC การประยุกต์ใช้ PLC ในอุตสาหกรรมเล็ก กลาง และใหญ่ การพัฒนาระบบ PLC ในชั้นการส่งถ่ายข้อมูลระหว่างโรงงานแม่กับโรงงานย่อย


ลักษณะสมบัติของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลัง หลักการของการแปลงผันพลังงาน การแปลงไฟฟ้ากระแสสลับเป็นกระแสตรง การแปลงไฟฟ้ากระแสตรงเป็นกระแสตรง การแปลงไฟฟ้ากระแสสลับเป็นกระแสสลับ การแปลงไฟฟ้ากระแสตรงเป็นกระแสสลับ การขับเคลื่อนมอเตอร์ และการขับเคลื่อนรถไฟฟ้า

Characteristics of power electronics devices; principles of power converters - AC to DC converter, DC to DC converter, AC to AC converter, DC to AC converter Motor drive and Electric Vehicle drive.

คำอธิบายรายวิชา

โครงสร้างระบบเลขจำนวนของคอมพิวเตอร์ หลักการทำงาน ขั้นตอน และการออกแบบเพื่อประมวลผลเลขคณิต การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ การหาค่าประมาณ การหาอนุพันธ์ การอินทิเกรตเชิงตัวเลข การเข้าสมการอนุพันธ์ ระบบสมการเชิงเส้นและไม่เชิงเส้น การปรับหาเส้นโค้งที่เหมาะสม